ศิลปะ

นาฏยศัพท์ 

 

ประเภทของนาฏยศัพท์ 
          แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
      1. นามศัพท์
          หมายถึง ศัพท์ที่เรียกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกอาการกระทำของผู้นั้น เช่น วง จีบ สลัดมือ คลายมือ กรายมือ ฉายมือ ปาดมือ กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า กระทุ้ง กะเทาะ จรดเท้า แตะเท้า ซอยเท้า ขยั่นเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว ตีไหล่ กล่อมไหล่
      2. กิริยาศัพท์
          หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติบอกอาการกิริยา ซึ่งแบ่งออกเป็ง ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกเพื่อปรับปรุงท่าทีให้ถูกต้องสวยงาม เช่น กันวง ลดวง ส่งมือ ดึงมือ หักข้อ หลบศอก เปิดคาง กดคาง ทรงตัว เผ่นตัว ดึงไหล่ กดไหล่ ดึงเอว กดเกลียวข้าง ทับตัว หลบเข่า ถีบเข่า แข็งเข่า กันเข่า เปิดส้น ชักส้น ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อท่ารำหรือท่วงทีของผู้รำที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้ผู้รำรู้ตัว และแก้ไขท่าทีของตนให้ดีขึ้น เช่น วงล้า วงคว่ำ วงเหยียด วงหัก วงล้น คอดื่ม คางไก่ ฟาดคอ เกร็งคอ หอบไหล่ ทรุดตัว ขย่มตัว เหลี่ยมล้า รำแอ้ รำลน รำเลื้อย รำล้ำจังหวะ รำหน่วงจังหวะ
      3. นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด
          หมายถึง ศัพท์ต่างๆที่ใช้เรียกในภาษานาฏศิลป์ นอกเหนือไปจากนามศัพท์ และกิริยาศัพท์ เช่น จีบยาว จีบสั้น ลักคอ เดินมือ เอียงทางวง คืนตัว อ่อนเหลี่ยม เหลี่ยมล่าง แม่ทา ท่า-ที ขึ้นท่า ยืนเข่า ทลายท่า นายโรง พระใหญ่ - พระน้อย นางกษัตริย์ นางตลาด ผู้เมีย ยืนเครื่อง ศัพท์

นาฏยภาษาหรือภาษาท่า
          หมายถึง การสื่อความหมายหรือสื่อสารให้เข้าใจกัน โดยใช้กิริยาท่าทาง การรำในทางนาฏศิลป์ เรียกว่า รำบท หรือรำตีบท คือ การแสดงท่ารำแทนคำพูด รวมทั้งการแสดงอารมณ์ด้วย การรำบทเป็นการใช้ภาษาที่พัฒนามาจากท่าทางโดยธรรมชาติ ท่ารำที่ใช้ในการรำตีบท เช่น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่งงานการถ่ายภาพรูปภาพสินค้า

ภาพ ลิปปาล์ม HIMALAYA โดย นส.อากีด๊ะ  มรรคาเขต เลขที่ 24 ชั้นม.6/1 โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์  จังหวัดสตูล