ภาษาต่างประเทศ

เทคนิคการอ่านแบบ Skimming และ Scanning


การอ่านแบบข้าม (Skimming) 
          Skimming หรือ การอ่านแบบข้าม หรือบางสำนักเรียกว่า (skipping) เป็นวิธีการอ่านแบบหนึ่งที่แตกต่างจากการอ่านแบบธรรมดา เพราะการอ่านแบบนี้เป็นการอ่านผ่านๆเพื่อต้องการข้อมูลทั่วไป (general information) จะไม่อ่านทุกตัวอักษรแต่จะอ่านข้าม ๆ แต่ก็สามารถจับใจความของเรืองที่กำลังอ่านได้ การอ่านแบบนี้มีประโยชน์ต่อผู้อ่านอย่างมาก เพราะต้องอ่านหนังสือมากมายหลายเล่ม หรือข้อมูลจำนวนมากในเวลาอันจำกัด และไม่มีเวลาพอที่จะอ่านทุกเล่มอย่างละเอียดถี่ถ้วน ดังนั้นผู้อ่านต้องรู้วิธี Skim เพื่อประหยัดเวลา Skimming ยังถือเป็นหนึ่งในสองความสามารถการอ่านในเชิงปฏิบัติ นอกเหนือจาก scanning (การอ่านเร็ว) ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีความสำคัญในการฝึกทักษะการอ่านที่มีประสิทธิภาพ Skimming เป็นรูปแบบการอ่านแบบหนึ่งจากสองแบบที่จำเป็นมากๆ หากคุณได้อ่านบทความภาษาอังกฤษจำนวนมาก จะพบว่าเป็นการยากมากที่จะหาคำตอบจากสิ่งที่โจทย์ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากบทความนั้นยาวมาก เทคนิคการอ่านแบบนี้ คือการอ่านด้วยความไวสูง ไม่สนใจรายละเอียดหากแต่กวาดตามองไปอย่างรวดเร็ว มองหา Keyword หรือคำหลักที่โจทย์ต้องการในบทความด้วยความไวสูงซึ่งการอ่านแบบนี้มีประโยชน์มากเมื่อเราต้องการทราบภาพรวมๆของบทความนั้นๆ เพราะจะไม่เปลืองสมองมากนัก

ประโยชน์ของ skimming
          วิธีการอ่านผ่านนับเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดเวลาในการอ่านได้เป็นอย่างมากเพราะผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเรื่องทั้งหมด แต่เป็นการเลือกอ่านเฉพาะส่วนที่สำคัญและอ่านด้วยความรวดเร็วอย่าให้ความสนใจศัพท์แสงที่ไม่ทราบจนมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความกังวล ควรข้ามส่วนซึ่งเป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่สำคัญออกไป การอ่านข้ามเป็นสิ่งที่คนน้อยคนมากๆจะทำได้ดี เพราะคนอ่านมักขาดความมั่นใจว่าได้อ่านข้อความที่สำคัญจริงๆ และกลัวว่าจะอ่านข้าม ข้อความที่สำคัญของเรื่องไปทำให้ไม่กล้าอ่านข้าม

ความแตกต่างของSkimming และ scanning
          Skimming และ scanning ต่างเป็นเทคนิคการอ่านเร็วทั้งคู่ แต่ scanning นั้นจะกวาดสายตาหาเฉพาะสิ่งที่เราต้องการ (a particular thing or person) เท่านั้น เช่น หาคำบางคำ ในสมุดโทรศัพท์เป็นต้น โดยจะไม่อ่านทุกบรรทัดหรือทุกหน้า จะกระโดดจากหน้านี้ไปหน้าโน้นเลย จุดมุ่งหมายอยู่ที่คำบางคำ เท่านั้น ส่วน skimming นั้นจะกวาดสายตาหาเฉพาะสาระสำคัญที่ต้องการ (a particular point or main points) เท่านั้น เช่น Why did so many people visited this national convention center last week? Why? = The exhibition? Why? = The major event?

จุดมุ่งหมายของskimming
          จุดมุ่งหมายสำคัญของการอ่านแบบข้าม คือ การค้นหาจุดสำคัญที่ของเรื่อง (Topic) ว่าเรื่องที่อ่านเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการอ่านหนังสือ จากความสำคัญนี้เอง ข้อสอบในส่วนที่เป็น Reading comprehension ส่วนมากจะมีคำถามเกี่ยวกับความคิดหลัก (Main Idea) ของเรื่องอย่างน้อยหนึ่งข้อ
          การอ่านแบบข้าม นับเป็นวิธีการอ่านที่ผู้อ่านมุ่งหวังที่จะทราบรายละเอียดของเนื้อเรื่องหรือข้อความที่อ่าน โดยการกวาดสายตาหาหัวเรื่องที่เราสนใจและจะค้นหาเฉพาะแนวความคิดหลักเท่านั้น การอ่านแบบนี้ จะอ่านข้ามเป็นตอนๆ และอาจข้ามบางประโยคหรือบางบรรทัดไป คือไม่อ่านทุกคำแต่มองหาประเด็นหรือใจความสำคัญ (main idea) หรือหาคำสำคัญของเรื่อง (key words) โดยผู้เชี่ยวชาญบางท่านได้กล่าวไว้ว่าเป็นการอ่านด้วยนิ้ว (reading with fingers) ด้วยซ้ำ การอ่านประเภทนี้มักจะใช้กับการอ่านบทความ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร นวนิยาย สำหรับจุดมุ่งหมายของการอ่าน เพื่อหาประเด็นหรือใจความสำคัญโดยทั่วไป เพื่อเก็บรายละเอียดที่สำคัญบางอย่างเท่านั้น
          การอ่านวิธีนี้จะไม่เน้นอ่านทุกคำหรือทุกประโยค แต่จะจับเฉพาะคำสำคัญ (key word) ที่แฝงอยู่บอกว่าเนื้อเรื่องทั้งหมดนั้นเกี่ยวกับเรื่องอะไรเท่านั้น ซึ่งหลักปฏิบัติในการอ่าน สรุปได้ดังนี้
          1. อ่านสองหรือสามคำแรกและ/หรือ สองหรือสามคำสุดท้ายในแต่ละประโยคคือการอ่านข้ามสิ่งที่คิดว่าไม่มี ความสำคัญในประโยค จะเข้าใจประโยคนั้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสลับซับซ้อนและโครงสร้างของประโยคเป็นสำคัญ
          2. การพรีวิว (Preview) คือความสามารถที่จะคิดและคาดการณ์เห็นแนวคิดบางอย่างได้ล่วงหน้าก่อการอ่านจริง การพรีวิวช่วยให้จับประเด็นได้เร็วขึ้นและช่วยให้อ่านข้ามข้อความโดยไม่เสียอรรถรส วิธีอ่านคือ อ่านประโยคแรกและประโยคสุดท้ายของแต่ละย่อหน้าอย่างเร็วก่อนแล้วจึงไปอ่านซ้ำอีกครั้งเพื่อเก็บใจความสำคัญต่อไป ซึ่งอ่านเฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญในแต่ละย่อหน้าเท่านั้น
          3. อ่านส่วนแรกของประโยคเร็วๆ วิธีนี้ จะไม่อ่านจนจบประโยค แต่จะกวาดสายตามองผ่านๆ แล้วเริ่มต้นอ่าน ประโยคใหม่ ทำเรื่อยๆจนจบประโยคที่ต้องการจะอ่าน ขณะอ่านสายตาจะจับอยู่ที่ทางด้านซ้ายมือของประโยคตลอดเวลา คืออ่านข้อความแค่หนึ่งในสามของประโยคเท่านั้น
          4. อ่านเฉพาะส่วนกลางของหน้าหนังสือ สายตาจะจับเฉพาะตอนกลางของหนังสือเท่านั้น และอ่านเกือบทุกประโยคด้วย
          5. อ่านแต่เฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญ โดยที่สำคัญอาจเป็นตัวเอน ตัวหนา หรือมีตัวเลขกำกับอยู่ในเครื่องหมายคำพูดก็ได้ บางครั้งอาจขึ้นต้นด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ หรือขีดเส้นใต้ไว้ก็ได้อาจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งใยบรรดาที่กล่าวมาทั้งหมดก็ได้
          จากที่กล่าวมาทั้งหมด 5 ข้อ ยังมีสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งนั่นคือ Topic Sentence ซึ่งก็คือ ประโยคที่บรรจุหัวเรื่องและใจความสำคัญไว้โดย Topic Sentence มักจะวางอยู่ที่ประโยคแรกหรือประโยคสุดท้ายของข้อความ และส่วนน้อยที่อยู่ตอนกลางของเรื่อง และบางข้อความไม่มี Topic Sentence ผู้อ่านต้องสรุปเอาเองจากเนื้อเรื่องในบทความนั้น

สรุป 7 ขั้นตอนของการ Skimming 
         1.อ่านหัวเรื่อง
         2.ดูชื่อผู้แต่ง และหนังสืออ้างอิง
         3.อ่านย่อหน้าแรกอย่างละเอียดและรวดเร็ว เพื่อจับใจความสำคัญของเรื่อง ( main idea )
         4.อ่านหัวเรื่องย่อยและประโยคแรกของย่อหน้าที่เหลือ
         5.อ่านเรื่องทั้งหมดอย่างรวดเร็วเพื่อหา
               1 main idea, Topic ของทุกย่อหน้าพร้อมทั้ง supporting detail
               2 clue words เช่น ชื่อคน ชื่อวัน และ adjective ที่สำคัญ
               3 คำที่แสดงความคิดของผู้แต่ง เช่น เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย 4 เครื่องหมายตัวชี้ต่าง ๆ เช่น ตัวพิมพ์เอน ตัวพิมพ์หนา ลูกศร ดาว ฯลฯ
         6. อ่านย่อหน้าสุดท้ายอย่างรวดเร็วและละเอียด
         7. เพ่งเล็งลักษณะตัวพิมพ์พิเศษ เช่น ตัวเอน ตัวหนา ดาว ฯลฯ ให้ดี สำคัญมากเพราะจุดนี้จะบอกให้รู้ถึงการเน้นย้ำใจความสำคัญ
          อย่างไรก็ดี ผู้เรียนควรฝึกการ Skim ให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทักษะในการ Skim จะดีขึ้นพยายามฝึก Skim เมื่อ
1. อ่านหนังสือพิมพ์ หรือ แม็กกาซีน
2. ต้องการจับใจความสำคัญของบทความ
3. การต้องการเลือกหนังสือในห้องสมุดก่อนที่จะตัดสินใจยืมเล่มหนึ่งออกมา
4. ต้องการสุ่มปริมาณความคิดเห็น และความเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ
5. ต้องการรวบรวมข้อมูล สำหรับการพูด หรือการเขียนรายงาน

          ข้อควรจำ : จุดประสงค์การอ่านแบบ skim จะแตกจ่างจากจุดประสงค์การอ่านธรรมดา กล่าวคือผู้เรียนต้องรู้เนื้อหาโดยทั่ว ๆ ไปให้มากที่สุด แต่ไม่จำเป็นต้องสนใจกับรายละเอียดปลีกย่อยทั้งหมด หลักวิธีการอ่านแบบคร่าวๆ (Reading Methods for Skimming) สำหรับเทคนิคการอ่านแบบ skimming คือให้พยายามกวาดสายตาไปเรื่อยๆ ผ่านบทความ ให้รู้สึกเหมือนกับว่าตนเองเวลาอ่าน ไม่ได้อ่านแล้วแปลเป็นภาษาไทยถึงเข้าใจ แต่ให้อ่านแบบเข้าใจเป็นภาษาอังกฤษเลย

Tip and Tricks: เคล็ดลับในการ skimming
           การอ่านแบบข้าม เป็นการอ่านผ่านเพื่อค้นหาเฉพาะข้อความสำคัญก่อนที่จะ อ่านข้อเขียนนั้นอย่างละเอียด ผู้อ่านจะมองข้อเขียนนั้นโดยรวมว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ค้นหาเฉพาะข้อความสำคัญและข้ามส่วนที่คิดว่าเป็นรายละเอียดปลีกย่อยไป ซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อสรุปและความคิดเห็นทั่วไปของเรื่องที่จะอ่าน ได้ข้อคิดอย่างกว้าง ๆ ของผู้แต่ง เราใช้วิธีการอ่านแบบนี้เมื่อต้องการหาประเด็นสำคัญภายในเวลาอันรวดเร็ว ในการอ่านแบบข้าม ผู้อ่านจะทราบสิ่งต่อไปนี้ ข้อเขียนนั้นเขียนขึ้นเพื่อใคร เช่น ผู้อ่านทั่วไป หรือผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ เป็นต้น ข้อเขียนนั้นมีรูปแบบใด เช่น รายงาน จดหมายที่เขียนอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ บทความ โฆษณา เป็นต้น ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์อะไรในการเขียน เช่น เพื่อพรรณนา อธิบายแจ้งข่าวสาร สั่งสอน ชักชวน เป็นต้น เนื้อหาโดยทั่วไปของข้อเขียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร


การอ่านแบบ Scanning Scanning 
          คือการอ่านอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับ Skimming แต่ต่างกันตรงที่ Scan เป็นการอ่านอย่างรวดเร็วเพื่อหาข้อมูลบางอย่างที่ต้องการ เช่น การหาชื่อคนในสมุดโทรศัพท์ เป็นตัวอย่างที่ดีของการ Scan วิธี Scan มีประโยชน์มากในการอ่าน เพราะทำให้ได้ข้อมูลที่ต้องการภายในเวลารวดเร็ว เช่น ในเวลาอ่านเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อาจต้องหาเพียง ชื่อ วันที่ สถิติ หรือข้อเท็จจริงบางอย่างเท่านั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอ่านเรื่องทั้งหมด เพียงแต่กวาดสายตาอย่างรวดเร็ว ทีละ 2 – 3 บรรทัด เพื่อหาสิ่งที่ต้องการ แต่ที่สำคัญคือ จะต้องรู้อยู่ตลอดเวลาว่า กำลังหาอะไรในใจ จะต้องกำหนดสิ่งนั้นอย่างชัดเจน เพื่อที่เวลาอ่านจะรู้สึกว่า มองหาสิ่งที่ต้องการปรากฏออกมาอย่างเด่นชัด

ขั้นตอนการ Scan
          1. จดบันทึก เวลา เมื่อเริ่มทำแบบฝึกหัด
          2. อ่านถามแรก ตอนต้นเรื่อง
          3. Scan paragraph ต่อ ๆ ไป เพื่อหาคำตอบให้กับคำถาม ปล่อยสายตาให้เคลื่อนไปอย่างรวด เร็วจะพบ ประโยคที่ให้คำตอบ แล้วอ่านประโยคนั้น
          4. ขีดเส้นหรือ ทำเครื่องหมายบรรทัดที่ให้คำตอบได้ถูกต้อง
          5. เมื่อนักเรียนตอบคำถามหนึ่งได้แล้ว ให้ทำต่อไปโดยทำซ้ำ ขั้นตอน 2 – 4 จนกว่าจะตอบคำถาม อื่น ๆ ได้หมด
          6. จนตลอดเวลาที่ทำเสร็จ แล้วตรวจคำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่งงานการถ่ายภาพรูปภาพสินค้า

ภาพ ลิปปาล์ม HIMALAYA โดย นส.อากีด๊ะ  มรรคาเขต เลขที่ 24 ชั้นม.6/1 โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์  จังหวัดสตูล