การงาน

มาตรฐานอุตสาหกรรมสากล


          มาตรฐานอุตสาหกรรมสากล (International Standard Industrial Classification of All Economic Activities : ISIC) ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations)
          เครื่องหมาย CE ย่อมาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า “Conformite Europeene ซึ่งมีความหมายเดียวกับคำใน ภาษาอังกฤษคือ “European Conformity” เดิมทีใช้เครื่องหมาย EC แต่ภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นเครื่องหมาย CE อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2536
         เครื่องหมาย CE ที่ปรากฏอยู่บนสินค้าเป็นเครื่องหมายที่แสดงการรับรองจากผู้ผลิต (Manufacturer’s Declaration) ว่าสินค้านั้น มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป การมีเครื่องหมาย CE กำกับบนสินค้าจะทำให้สินค้านั้นสามารถวางจำหน่าย และสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีในเขตเศรษฐกิจยุโรป หรือ European Economic Area (EEA) ซึ่งประกอบด้วยสหภาพยุโรป หรือ European Community (EU) และ สมาคมการค้าเสรียุโรป หรือ European Free Trade Association (EFTA) ยกเว้นประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยสมาชิกแต่ละประเทศจะดำเนินการออกกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของสหภาพยุโรป หรือ EC Directives ที่กี่ยวข้องกับการใช้เครื่องหมาย CE

          ISO คือองค์การระหว่างประเทศ ว่าด้วยการมาตรฐาน (International Standards Organization) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๔๙๐ (๑๙๔๗) โดยมีสำนักงานใหญ่ ISO ตั้งอยู่ที่ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ วัตถุประสงค์ขององค์การ ISO ก็เพื่อส่งเสริมการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจ และขจัดข้อโต้แย้ง รวมถึงการกีดกัน ทางการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ ในด้านวิชาการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกล่าวง่าย ๆ ได้ว่า บริษัท หรือองค์กรใดได้รับ ISO ก็หมายความว่า สินค้าหรือบริการขององค์กรนั้น เข้าขั้นมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
          ISO 9000 คือการจัดระบบการบริหารเพื่อประกันคุณภาพ ที่สามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบเอกสาร
          ISO 9001 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลทั้งการออกแบบ และพัฒนาการผลิต การติดตั้ง และการบริการ 
          ISO 9002 มาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเฉพาะการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
          ISO 9003 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเรื่องการตรวจ และการทดสอบขั้นสุดท้าย 
          ISO 9004 เป็นแนวทางในการบริหารงานคุณภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเป็นข้อแนะนำ ในการจัดการในระบบคุณภาพ ซึ่งจะมีการกำหนดย่อย ในแต่ละประเภทธุรกิจ
          ISO 14000 เป็นระบบมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นให้องค์กรมีการพัฒนาปรับปรุงสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง
          ISO 18000 มาตรฐานระบบการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 
          ISO/TS 16949 มาตรฐานอุตสาหกรรมยานยนต์

          UL certificate ของ Underwriters Laboratories Inc ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ให้การรับรองเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์

         มาตรฐานอุตสาหกรรม 
          - British Standard (BS) คือมาตรฐานของประเทศอังกฤษ
          - German Industrial Standard (DIN) คือมาตรฐานของประเทศเยอรมัน
          - Japanese Industrial Standard (JIS) คือมาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น
          - American National Standard Institute (ANSI) คือมาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา
          - Thailand Industrial Standard (TIS) คือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ของประเทศไทย
          - Verband Deutscher Elektrotechniker (VDE) คือมาตรฐานของกลุ่มวิศวกรไฟฟ้าในประเทศเยอรมนี 
          - Keuring van Elektrotechnische Materialen (KEMA) คือมาตรฐานการทดสอบของประเทศเนเธอร์แลนด์ 
          - International Electrotechnical Commission (IEC) คือมาตรฐานขององค์กรระหว่างประเทศที่จัดทำมาตรฐานทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
          - African Regional Standards Organization (ARSO ) องค์การมาตรฐานแห่งภูมิภาคแอฟริกา
 

          มาตรฐานที่ใช้ในการผลิต
          Codex Alimentarius Commission (CAC) คณะกรรมการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ
          GAP (Good Agricultural Practice) มาตรฐานการผลิตสินค้าการเกษตร กำหนดโดยหน่วยงานต่างๆ กระทรวงเกษตรฯ บังคับใช้กับผู้ประกอบการผลิตสินค้าเกษตรในประเทศ
          GMP(Good Manufacturing Practice) มาตรฐานวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาอาหาร กำหนดโดยกระทรวงสาธารณสุขบังคับใช้กับผู้ประกอบการโรงงานอาหารในประเทศ 
          HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) เป็นมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยอาหาร กำหนดโดยCodex Alimentarius บังคับใช้กับผู้ประกอบการโรงงานอาหารส่งออก (สหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศยุโรป ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) 
          ISO กำหนดโดยCodex Alimentarius บังคับใช้กับผู้ประกอบการโรงงานอาหารส่งออก
          SQF2000 กำหนดโดยCodex Alimentarius บังคับใช้กับผู้ประกอบการโรงงานอาหารส่งออกสหรัฐอเมริกา
          Animal Welfare มาตรการด้านการคุ้มครองสวัสดิภาพของสัตว์ กำหนดโดยกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป บังคับใช้กับฟาร์มและสถานที่เลี้ยงสัตว์ 
          GMOs (Genetically modified organisms) มาตรการเกี่ยวกับสินค้าที่มีการใช้วัตถุดิบดัดแปลงทางพันธุกรรม กำหนดโดยกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปบางประเทศ บังคับใช้กับผู้ประกอบการโรงงานอาหารสัตว์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่งงานการถ่ายภาพรูปภาพสินค้า

ภาพ ลิปปาล์ม HIMALAYA โดย นส.อากีด๊ะ  มรรคาเขต เลขที่ 24 ชั้นม.6/1 โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์  จังหวัดสตูล