ุสุขศึกษา

ต่อมไร้ท่อ ( Endocrine gland ) 


1. ต่อมใต้สมอง 
          1) Growth Hormone เป็นฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะ กระดูกและกล้ามเนื้อ 
          2) Thyroid Stimulating Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้าง ไทร็อกซินเพิ่มขึ้น
          3) Gonadotrophic Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
          4) Antidiuretic Hormone เป็นฮอร์โมนช่วยในการดูดน้ำกลับของท่อไต เพื่อรักษา ระดับน้ำของร่างกาย
          5) Melatonin เป็นฮอร์โมนกระตุ้นให้เซลล์เม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น

2. ต่อมไทรอยด์ 
          ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ คือ ไทร็อกซิน โดยใช้ไอโอดีนเป็นวัตถุดิบในการ สร้างฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนไทร็อกซินมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้
          1) ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก สมอง และระบบประสาท 
          2) ช่วยในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเมื่อเป็นผู้ใหญ่
          3) ช่วยควบคุมอัตราเมตาบอลิซึมในร่างกาย

3. ต่อมพาราไทรอยด์ 
          ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญชื่อ พาราธอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ควบคุมเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย การสร้างกระดูกและควบคุมบทบาท ของวิตามินดีในร่างกาย โดยวิตามินดีจะรวมกับฮอร์โมนพาราธอร์โมนในการสลายแคลเซียมออก จากกระดูกเพื่อรักษาระดับปกติของแคลเซียมในพลาสมา

4. ตับอ่อน
          1) อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง โดยช่วยให้กลูโคสผ่าน เข้าเซลล์และเปลี่ยนส่วนหนึ่งเป็นไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับ ปกติ
          2) กลูคากอน เป็นฮอร์โมนที่ทำงานตรงข้ามกับอินซูลิน คือ ทำให้ระดับน้ำตาลใน เลือดสูงขึ้น

5. ต่อมหมวกไต ( adrenal gland )
          แบ่ง ฮอร์โมนออกเป็น 3 กลุ่ม ที่สำคัญ คือ
          1) Glucocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
          2) Mineralocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ฮอร์โมนสำคัญกลุ่มนี้ คือ aldosterone ช่วยในการทำงานของไตในการดูดกลับ Na และ Cl ภายในท่อไต
          3) Sex hormone ฮอร์โมนเพศช่วยควบคุมลักษณะทางเพศที่สมบูรณ์ทั้งชายและหญิง
          4) อะดรีนัลเมดัลลา ( adrenal medulla ) เป็นเนื้อชั้นในของต่อมหมวกไต อยู่ภายใต้การควบคุมของ sympathetic ถูกกระตุ้นในขณะตกใจ เครียด กลัว โกรธ เนื้อเยื่อชั้นนี้จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ
               4.1) Adrenalin hormone หรือ Epinephrine hormone กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรง เส้นเลือดขยายตัว เปลี่ยน glycogen ในตับให้เป็นกลูโคสในเลือด
               4.2) Noradrenlin hormone หรือ Norepinephrine hormone กระตุ้นให้เส้นเลือดมีการบีบตัว ผลอื่นคล้ายๆ adrenalin แต่มีฤทธิ์น้อยกว่า 

6. ต่อมเพศ
          ในชายได้แก่อัณฑะและในหญิงได้แก่รังไข่ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ 2 อย่างคือ สร้างเซลสืบพันธ์และสร้างฮอร์โมน
          6.1ฮอร์โมนเพศชาย ที่สำคัญคือ เทสทอสเตอโรน (Testosterone)
          6.2 ฮอร์โมนเพศหญิง ที่สำคัญคือ เอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) 

7.ฮอร์โมนจากรก
          โกนาโดโทรฟินจากรก สามารถวัด HCG ในปัสสาวะของมารดาได้ตั้งแต่วันที่ 9 ของการตั้งครรภ์และระดับจะสูงขึ้นระหว่างสัปดาห์ที่ 9-12 หลังจากนั้นจะลดลง การตรวจพบ HCG ในปัสสาวะหรือเลือดใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ถึงการตั้งครรภ์ HCG ทำหน้าที่ยืดอายุการทำงานของคอร์ปัสลูเทียม กระตุ้นการสร้างและหลั่งฮอร์โมนณัแลกซินเพื่อยับยั้งการหดตัวของมดลูก
          Human chorionic somatomammotropin (HCS) เป็นฮอร์โมนชนิดเปปไทด์ประกอบด้วยกรดอะมิโน191 หน่วย มีโครงร้างเหมือนฮอร์โมน โซมาโทโทรฟินหรือโกรทฮอร์โมน และโพรแลกทิน แต่มีผลแบบโพรแลกทินสูงกว่าโกรทฮอร์โมน ขณะที่ระดับ HCG ลดต่ำลงหลังจาก 3 เดือนของการตั้งครรภ์ รกจะสร้าง HCS ในสัปดาห์ที่ 4 และจะเพิ่มระดับขึ้น เรื่อยๆ จนถึงระดับสูงสุดเมื่อใกล้คลอด
          โพรเจสเทอโรน รกจะเริ่มสร้างโพรเจสเทอโรนในสัปดาห์ที่ 6 ของการตั้งครรภ์ถึงระดับสูงสุดเมื่อใกล้คลอด โพรเจสเทอโรนถูกขับทิ้งทางปัสสาวะ โพรเจสเทอโรนเป็นฮอร์โมนที่สำคัญสำหรับการตั้งครรภ์โดยเตรียมเยื่อบุมดลูกเพื่อรับตัวอ่อน ทำงานร่วมกับฮอร์โมนรีแลกซิน ลดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของแม่ไม่ให้ต่อต้านการมีทารกซึ่งเปรียบเสมือนเซลล์แปลกปลอมในร่างกายของแม่
          เอสโทรเจน รกสร้างเอสโทรเจนได้ทั้งเอสทราไดออล เอสโทรนและเอสไทรออล แต่สร้างเอสไทรออลได้มากกว่าฮอร์โมนอีก 2 ชนิดและมีระดับเพิ่มขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์คือช่วยในการพัฒนเต้านมและทำให้กล้ามเนื้อมดลูกมีขนาดโตขึ้น ทำให้เอ็นยึดต่างๆในอุ้งเชิงกราน และ หังหน่าว ช่วยให้บริเวณช่องคลอดขยายออกได้กว้างขึ้น



8.ต่อมไพเนียลหรือต่อมเหนือสมอง (Pineal gland) 
          ประกอบด้วยเซลล์ 2 ประเภท คือ เซลล์ไพเนียล( pinealocytes) และ เซลล์ไกลอัน (glial cell)จัดอยู่ในระบบประสาทคือ การรับตัวกระตู้การมองเห็น(visual nerve stimuli) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นดวงตาที่ 3 ทำหน้าที่ควบคุมร่างกาย โดยทำงานร่วมกับ ต่อมไฮโปทารามัส (Hypothalamus) ซึ่งต่อมไฮโปทารามัส จะทำหน้าที่เกี่ยว ความหิว ความกระหาย เรื่องเซ็กส์ และนาฬิกาชีวิตซึ่งควบคุมอายุของมนุษย์ และเป็นต่อมไร้ท่อทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน

การรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่งงานการถ่ายภาพรูปภาพสินค้า

ภาพ ลิปปาล์ม HIMALAYA โดย นส.อากีด๊ะ  มรรคาเขต เลขที่ 24 ชั้นม.6/1 โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์  จังหวัดสตูล